ประวัติ Breitling ไบร์ทลิ่ง
ในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อเมือง แซง เอเมียร์ (St. Imier) ใกล้เทือกเขาจูร่า (Jura)เซอร์แลนด์ ลีออง ไบร์ทลิ่ง (Leon Breitling) ริเริ่มโรงงานผลิตนาฬิกาขึ้นมาด้วยเป้าหมายเพียงประการเดียวคือ สร้างสรรค์นาฬิกาจับเวลาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมของโลก
ก้าวสู่โลกแห่งการบิน
ในปี ค.ศ. 1884 ช่วงเวลาที่ Leon Breitling เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาภายใต้ชื่อแบรนด์ ‘ไบร์ทลิ่ง’ (Breitling) เป็นช่วงเดียวกับการพัฒนาอากาศยาน ดังนั้น อุปกรณ์จับเวลาที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น จึงถูกนำไปใช้กับเครื่องบินแบบต่างๆ และด้วยคุณภาพที่เป็นเลิศ ทำให้เครื่องมือจับเวลาของ Breitling ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนโรงงานผลิตนาฬิกาเล็กๆ ของผู้ก่อตั้งต้องขยายกิจการและย้ายไปยัง ลา โชซ์-เดอ-ฟองด์ (La Chaux-de-Fonds) อันเป็นศูนย์กลางการผลิตนาฬิกาชื่อดังของโลก
นาฬิกาจับเวลาของ Breitling ได้รับการพัฒนาต่อมาในปี ค.ศ. 1915 โดย แกสตัน ไบร์ทลิ่ง (Gaston Breitling) จนกลายเป็นนาฬิกาข้อมือแบบจับเวลาที่แม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ยังคงพัฒนาอุปกรณ์คำนวณและจับเวลาสำหรับติดตั้งบนเครื่องบินอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการขนานนามในฐานะผู้ชำนาญด้านอุปกรณ์จับเวลาและนาฬิกาสำหรับนักบิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 แบรนด์ Breitling ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินอย่างเต็มตัว โดย วิลลี ไบร์ทลิ่ง (Willy Breitling) ทำให้ชื่อแบรนด์ Breitling กลายเป็นชื่อที่มีความผูกพันยิ่งกับกองทัพอากาศ นักบิน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานทั่วโลก ทั้งยังกลายเป็นนาฬิกาประจำตัวนักบินของฝูงบินชื่อดังของโลก เช่น ทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) ของสหรัฐฯ, เรด แอร์โรวส์ (Red Arrows) ของสหราชอาณาจักร, ปาตรูอีเยอ เดอ แฟรนซ์ (Patrouille De France) หรือกองลาดตระเวณของฝรั่งเศส และ ฟรีซ ไตรโคโลรี (Freece Tricolori) ของอิตาลี
จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและรูปแบบของ Breitling ที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงการการบินและการกีฬามาจนถึงปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์นานนับศตวรรษ Breitling ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีมาโดยตลอด ครองความเป็นเจ้านาฬิการะบบจักรกลที่สามารถเดินได้อย่างเที่ยงตรงจนถึงระดับโครโนมิเตอร์ ดังนั้น Breitling จึงกลายเป็นนาฬิกาสำคัญระดับโลกรายเดียวที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองความเที่ยงตรงในนาฬิกาทุกรุ่นของตนเอง และยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตนาฬิกาที่ยังคงเป็นของชาวสวิส โดยมีโรงงานการผลิตแห่งใหม่ที่เต็มไปด้วยมาตรฐานของอุตสาหกรรมการทำนาฬิกาด้วย
ทุกเรือนเป็นโครโนมิเตอร์
ใบรับรองโครโนมิเตอร์ (Chronometer) แสดงให้เห็นถึงการยอมรับว่า ' มีความเที่ยงตรงเป็นที่สุด แม้จะอยู่ในสถานะใดๆก็ตาม'
นี่คือความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดสำหรับนาฬิกาที่ได้รับใบรับรองนี้ กว่าจะได้มาต้องมีการนำเสนอวิธีการและระยะเวลาการผลิตทั้งหมดให้กับสถาบันทดสอบความเที่ยงตรง The Swiss Official Chronometer Testing Institute หรือที่เรียกกันย่อๆว่า C.O.S.C. ได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน พร้อมกับผ่านการตรวจสอบและทดสอบ
สำหรับ Breitling ก็ต้องผ่านการทดสอบดังกล่าวเช่นกัน ด้วยระยะเวลา 15 วัน 15 คืน ในอุณหภูมิต่างกัน 3 อุณหภูมิ ทั้งหมดนี้เพื่อยืนยันให้เห็นถึงความแน่วแน่ในการตัดสินใจที่จะทำให้ตนเองแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยใบรับรองจาก C.O.S.C. สำหรับนาฬิกาทุกรุ่นทุกเรือน หรือจะเรียกว่า 100% ของการผลิตล้วนผ่านการรับรองความเที่ยงตรงมาแล้วทั้งสิ้นก็ได้
อนุเคราะห์บทความโดย GM Watch
Tel : 081-274-7506
กดลิงค์เพื่อเข้า Line : @rolex99
ร้านมีเครื่องมีเช็คเปอร์เซ็นต์ทองคำ(Gold) เช็คเงิน(Silver) เช็คแพลทินัม(Platinum) เช็คโรเดียม(Rhodium) เช็คพาลาเดียม(Palladium) เช็คทองแดง(Copper)และเช็คแร่ธาตุอื่นๆ ไว้บริการทุกสาขา
Posted by: admin ( 2024-08-06 13:53:03 ) |
Category Product
- รับซื้อนาฬิกาCartier Koala
- รับซื้อนาฬิกา Ulysse Nardin
- รับซื้อนาฬิกาROLEX SUBMARINER DATE หน้าเขียว
- รับซื้อนาฬิกา Audemars Piguet Royal Oak Offshore Chronograph
- ร้านรับซื้อRolex Sky-Dweller Rose Gold
- รับซื้อนาฬิกาROLEX DAYTONA Ref.6263
- รับซื้อAP Jules Audemars Automatic Silver Dial White Gold
- รับซื้อนาฬิกา Piaget Altiplano
- ซื้อ ขาย นาฬิกา Rolex Date Midiumsize หน้าแชมเปญ สายเต้าหู้
- รับซื้อเพชรร่วง
- รับซื้อAudemars Piguet Royal Oak Metallic Grey Chronograph Dial 18kt Pink Gold Black
- รับซื้อAP Royal Oak Offshore Bumble Bee Chronograph
- รับซื้อนาฬิกา Zenith
- รับซื้อนาฬิกาROLEX COSMOGRAPH DAYTONA สายสแตนเลสสตีล ภูเก็ต กระบี่ พังงา ภาคใต้
- ร้านรับซื้อนาฬิกามือสองกรุงเทพ